คุมอาหารอย่างเคร่งครัด แต่ทำไม ค่าไตยังลดลง คุณอ้อม สารินี September 26, 2024 ค่า BUN ลดลงแล้วแต่ทำไม?ค่า GFR ลดลงตามไปด้วย เมื่อค่าไตเริ่มลดลง น้อยกว่า 45%หรือเข้าสู่ระยะ 3b-5 สิ่งที่ต้องทำคือ ควบคุมปริมาณโปรตีนตามสัดส่วนที่สามารถทานได้ในแต่ละวันผู้ป่วยโรคไตเสื่อม หลายๆ คน คุมอาหารอย่างเคร่งครัดแล้ว แต่ทำไมค่าไตก็ยังลดลงอีกมีสาเหตุมาจากอะไร? วันนี้เรามาดูกันค่ะ สาเหตุที่ คุมอาหารแล้ว ค่าไตก็ยังลดลงอีก คือ 1. การคุมโปรตีนมากจนเกินไปการคุมโปรตีน สำหรับผู้ป่วย โรคไตระยะ 3b -5 เป็นสิ่งจำเป็น ที่ต้องทำ เมื่อคุมโปรตีนแล้วจะมีผลทำให้ค่า BUN ลดลง สำหรับผู้ป่วย โรคไตระยะ 3b-5 ไต จะสามารถขับของเสียได้น้อย จึงควรทาน โปรตีน ในปริมาณที่เหมาะสม ตามสดส่วนที่คำนวณได้การที่มี่ค่า BUN มากกว่า 20 แต่ไม่เกิน 40 จะยังถือว่าไม่อันตราย แต่ถ้า มีค่า BUN น้อยกว่า 20 แสดงว่า ผู้ป่วยทานโปรตีนน้อยเกินไป หรือไม่ทานโปรตีนเลย ซึ่งจะส่งผลเสีย ทำให้มีค่า Creatinine สูงขึ้นได้ เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายเกิดการสลายตัวของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ค่า Creatinine สูงขึ้น และค่า GFR จะยิ่งลดลง ผู้ป่วย โรคไต ทุกระยะ จะต้องทานโปรตีนให้เหมาะสมกับ ระยะของไต เลือกทานโปรตีนคุณภาพดีอาทิ ไข่ขาว เนื้อปลา เนื้อไก่ (ไม่ติดหนัง ไม่ติดมัน)ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรอด หรือ งดทานโปรตีน ผู้ป่วย โรคไตระยะ 3b-5 จะต้องคำนวณปริมาณสัดส่วนอาหารโดยคำนวณจากน้ำหนักตัวที่เหมาะสม (ไม่ใช่น้ำหนักตัวปัจจุบันนะคะ) วิธีหาค่าน้ำหนักตัวที่เหมาะสมเพศชาย ส่วนสูง-100 = น้ำหนักตัวที่เหมาะสมเพศหญิง ส่วนสูง-105 = น้ำหนักตัวที่เหมาะสมวิธีคำนวณปริมาณสัดส่วนอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวันโรคไตระยะ 3b -5 ต้องการโปรตีน 0.6 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมตัวอย่างเช่น น้ำหนักตัว 50 กก. x 0.6 กรัม = 30 กรัม ดังนั้น โปรตีนที่จะต้องได้รับต่อวัน คือ 30 กรัม 2. การไม่ดูแลโรคประจำตัว ไตเสื่อม ระยะที่ 4 -5 แต่แพทย์ไม่จ่ายยารักษาไตให้ เพราะอะไร?ทำไมให้ทานยาความดัน เบาหวาน และไขมัน เท่านั้น การดูแลรักษาไตเสื่อมนอกจากการดูแลควบคุมอาหารแล้ว การดูแลโรคประจำตัว คือ สิ่งที่สำคัญ เช่นกันเบาหวาน ความดัน ไขมัน 3 โรคที่ก่อให้เกิด โรคไตเสื่อม ตามมา เมื่อผู้ป่วยได้รับยามาต้องทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั้ง ไม่ควรลดปริมาณยา หรือหยุดทานยาเอง นอกจากการทานยาแล้ว ผู้ป่วยควรปรับพฤติกรรมการดูแลตัวเองด้วย ทานให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อดูแล คุมอาการของโรคประจำตัวได้ดีโดยไม่ต้องทานยา แพทย์จะพิจารณาและลดปริมาณยาให้เอง โรคเบาหวานน้ำตาลสะสม ไม่ควรเกิน 6 และน้ำตาลทั่วไปต้องไม่สูงเกินเกณฑ์ปกติผู้ป่วย โรคเบาหวานหลายๆคน มักจะบอกว่า… คุมเบาหวานให้อยู่ในเกฑ์ปกติได้แล้วซึ่งคุมได้ด้วยการฉีดยา การฉีดยาในเเต่ละวัน ในปริมาณมากๆ (เช่นเช้า 25 ยูนิต และเย็น 20 ยูนิต) จะส่งผลให้ค่าไตลดลง ไม่ดีขึ้นควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดน้ำตาลในเลือด ด้วยการลดปริมาณการทานข้าว ของหวาน ผลไม้รสหวาน น้ำผลไม้รสหวาน โรคความดัน คุมความดัน ให้อยู่ในเกณฑ์ เพื่อช่วยลดการทานยาความดันลงลดอาหารที่มันจัด หวานจัด เพราะการทานอาหารที่มีรสหวาน จะทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาล เมื่อผู้ป่วยใช้พลังงานน้อยกว่าที่ทานไป จะทำให้เกิดน้ำตาลสะสมกลายเป็นเป็นไขมัน เมื่อไขมันสูงขึ้น จะเกิดการอุดตันในเส้นเลือด และส่งผลให้ความดันขึ้น การทานยาความดันในปริมาณที่เยอะ จะส่งผลให้ค่าไตลดลง ไขมันในเลือดเช็คค่าไตรกรีเซอไร/LDL ถ้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือดจึงส่งผลทำให้ช่วยเพิ่มค่าการทำงานของไตได้ 3. การเลือกทาน “กรดอะมิโนวิต” เมื่อเลือกทานอะมิโนวิตผู้ป่วยจะต้องทำ Zero Protein คือการที่ไม่ทานอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์หรือแป้งเลยและจะต้องทานอมิโนวิตควบคู่กับการทานแป้งปลอดโปรตีน เช่น วุ้นเส้น ถึงแม้ว่า วุ้นเส้น จะเป็นแป้งปลอดโปรตีน แต่ถ้าทานในปริมาณที่มากเกินไป เป็นประจำทุกวัน ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น การทานอะมิโนวิต จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ และนักโภชนาการอาหาร เพราะถ้าหากทานในปริมาณมากเกินไป ก็จะทำให้ร่างกายได้รับโปรตีนเกิน เกิดค่าของเสียสูง และถ้าทานน้อยเกินไปร่างกายจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ผู้ป่วยบางรายทาน “อะมิโนวิต” แล้ว BUN ไม่สูง แต่มี “ระดับน้ำตาล” ในเลือดที่สูงขึ้น เพราะฉะนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานนะคะ =============เราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากตัวคุณก่อน”สั่งซื้อ | ปรึกษา จากผู้เชี่ยวชาญ : ติดต่อ คุณอ้อม สารินีLine : @aomsarineeกดเพิ่มเพื่อน เพื่อปรึกษาฟรีได้อัตโนมัติ ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ 👇🏽👇🏽https://lin.ee/UTSMS5K Related posts:ยา 4 ประเภทกินต่อเนื่อง เสี่ยง ไตเสื่อมโปรตีนรั่วในปัสสาวะ อันตรายที่ไม่ควรมองข้ามหน้าที่การทำงานของไต