Tuesday, 22 Oct 2024

ค่า Creatinine สูงขึ้นเพราะอะไร? ลดอย่างไรดี?

ค่า Creatinine (Cr.) คืออะไร? 

– ค่า Cr. จะเพิ่มจากการสลายกล้ามเนื้อ
– ค่า Cr. ปกติ = 0.6-1.2


หรือแยกผู้หญิงและผู้ชาย ดังนี้
ค่า Cr. ปกติ ของผู้ชาย = 0.7 -1.2
( มีกล้ามเนื้อมากกว่าผู้หญิง)


ค่า Cr. ปกติ ของผู้หญิง = 0.5 – 1.0

การสลายกล้ามเนื้อ
จะทำให้ค่า Cr. เพิ่มขึ้น
เมื่อ Cr. เพิ่มขึ้น
ค่าการทำงานของไต (GFR) จะลดลง

สาเหตุที่ทำให้ค่า Creatinine (Cr.) เพิ่มขึ้น

1.การทานยากลุ่ม NSAIDs
กลุ่มยาที่ช่วยแก้อาการปวด บวม แดง ร้อน
และลดการอักเสบโดยตรงของร่างกาย
รวมทั้งยังมีฤทธิ์ในการลดไข้

  • bufen / ifobufen / acoxia
    หรือยาที่มีคำว่า coxia ด้านหลัง

  • ยากลุ่มนี้ ทานต่อเนื่องนาน 6 เดือน
    ทำให้ค่า Creatinine เพิ่มขึ้น
    อาจทำให้ต้องฟอกไต

  • ถ้าหากจำเป็นต้องทาน
    สามารถทานติดต่อกันได้เพียง 5 วัน
    ควบคู่กับการดูแลปรับพฤติกรรมของเราด้วย

  • ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์กัดกระเพาะ
    ควรทานหลังอาหารทันที
 

“ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยซื้อยาทานเอง ควรทานยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้นนะคะ”

2.น้ำหนักลดลงอย่างผิดปกติ

  • ผู้ป่วยโรคไตระยะ 1 – 3a
    ทานอาหารให้เพียงพอ
    เลือกทานโปรตีนคุณภาพดีให้อิ่มทุกมื้อ
    ไม่ต้องคำนวณปริมาณอาหาร

  • ผู้ป่วย โรคไต ระยะ 3b – 5
    คำนวณปริมาณสัดส่วนอาหารต่อวัน

  • ผู้ป่วยทุกระยะ
    สามารถทานกลุ่มแป้งปลอดโปรตีน
    เช่น วุ่นเส้น สาคู เส้นเซี่ยงไฮ้
    อาหารกลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มพลังงาน
    ไม่เพิ่มโปรตีน ช่วยให้น้ำหนักไม่ลดลงอีก
    ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม

3.การออกกำลังกาย

  • ผู้ป่วยโรคไตทุกระยะ
    สามารถออกกำลังกายได้
     
  • ควรออกกำลังกายเบาๆ
    วันละ 20-30 นาที สัปดาห์ละ 4-5 วัน

  • ไม่ควรออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อ
    และออกกำลังกายมากเกินไป
    จะทำให้ร่างกายเกิดการสลายกล้ามเนื้อ
    ส่งผลต่อค่า Creatinine ทำให้สูงขึ้น

วิธีลดค่า Creatinine

1. ทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม
ตามระยะไตของตนเอง
ไม่ควรทานตามผู้ป่วยโรคไตท่านอื่นๆ

2.เลือกทานโปรตีนคุณภาพดี
เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ขาว
หรือเนื้อหมูไม่ติดมัน

(เนื้อหมู นานๆทานที ไม่ควรทานบ่อย)

3. ออกกำลังกายให้เหมาะสม
เน้นการออกกำลังกายเบาๆไม่หนักจนเกินไป
เช่น เดิน ว่ายน้ำ แกว่งแขน
วันละไม่เกิน 1 ชั่วโมง
สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

4.การดื่มน้ำ
ผู้ป่วยไตเสื่อมแต่ละคน
จะดื่มน้ำได้ในปริมาณที่ไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับระยะของไตที่ตนเองเป็นอยู่

ดังนั้น ผู้ป่วยต้องทราบว่า
ตัวเองมีค่าไตอยู่ในระดับที่เท่าไหร่

– โรคไตระยะ 1-3a
 ในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้เพียงพอ
ประมาณ 2.5-3 ลิตร
 

 – โรคไตระยะ 3b,4,5
ควรดื่มน้ำในปริมาณที่จำกัด
เนื่องจากไตจะสามารถขับของเสียได้น้อย
ถ้าดื่มน้ำในปริมาณมากเกิน
จะทำให้เกิดอาการบวม น้ำท่วมปอด

ผู้ป่วยโรคไตระยะ 3b-5
ต้องคำนวณปริมาณน้ำดื่ม
จากการตวงปัสสาวะ 24 ชม.
ตวงได้เท่าไหร่ +500 ml
จะเท่ากับปริมาณน้ำดื่มที่สามารถดื่มได้ต่อวัน

=============

เราเชื่อว่าสุขภาพที่ดี
เริ่มต้นจากตัวคุณก่อน”

สั่งซื้อ | ปรึกษา จากผู้เชี่ยวชาญ :
ติดต่อ คุณอ้อม สารินี

Line : @aomsarinee

กดเพิ่มเพื่อน เพื่อปรึกษาฟรีได้อัตโนมัติ
ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ 👇🏽👇🏽
https://lin.ee/UTSMS5K

Open