Tuesday, 22 Oct 2024

เทคนิคลดค่า BUN ง่ายๆ

ค่า BUN คืออะไร? บอกอะไรเรา ?

BUN (Blood Urea Nitrogen)
คือ ค่าของเสียที่เกิดจากการย่อยโปรตีน

– ค่า BUN ปกติ = 8-20 mg/dl
ในคนไข้ไตระยะท้ายๆ
ค่า BUN จะสูงเกินกว่าปกติ
เพราะไตจะสามารถขับของเสียออกได้น้อย

ควรดูแล ค่า BUN ให้เหมาะสมกับระยะของ โรคไต

“อันตรายของค่า BUN สูง”
เมื่อไหร่ที่ค่า BUN สูงมาก
เช่นสูงกว่า 100 จะทำให้คนไข้ไต
มีอาการทั้งสมอง มึน งง ขี้หลงขี้ลืม
ทานอาหารไม่ได้ อาเเจียน
อาจได้ฟอกฉุกเฉินได้
และ ถ้าสูงมากๆจะทำให้เกิดอาการชัก
หรือเสียชีวิตได้

สาเหตุที่ทำให้ค่า BUN เพิ่มขึ้น

1.การกิน/ฉีดยาสเตียรอยด์มากเกิน

  • ยารักษาปวดข้อเข่า
  • ยารักษาโรคเก๊าท์
  • ยาที่ฉีด เข่าข้อเข่าโดยตรง คือ สเตียรอยด์
  • ยากลุ่มเพรดนิโซโลน (Prednisolone) 
    **
    ยากลุ่มนี้มีส่วนที่ทำให้ค่า BUN สูงขึ้น
    ควรทานหรือฉีด ตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
    ไม่ควรซื้อทานเอง

2.มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร

  • ถ่ายเป็นเลือด 
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • ส่วนใหญ่มักเกิด
    ในกลุ่ม โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
    ***หากมีอาการ ควรรีบตรวจเพื่อทำการรักษา

3.ท้องเสีย อาเจียนอย่างรุนแรง

  • เมื่อมีอาการนี้รุนแรงต่อเนื่อง
    ทำให้มีภาวะขาดน้ำ
    ส่งผลให้เกิดไตวายเฉียบพลัน
  • ภาวะไตวายเฉียบพลัน
    ค่า  BUN จะสูงขึ้นมาก
    จะต้องได้รับการฟอก
  • ผู้ป่วยไตระยะต้น
    มีอาการท้องเสียต่อเนื่อง 3 ครั้งขึ้นไป
    และผู้ป่วยโรคไตระยะ 3b-5
    หรือค่าไตเหลือน้อย
    มีอาการท้องเสียเพียง 1 ครั้ง
    ควรรีบพบแพทย์

การคุมโปรตีน ตามน้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับระยะไต
เป็นวิธี ที่สามารถช่วยคุมค่า BUN ได้

ผู้ป่วยโรคไต ระยะ 1-3a
สามารทานโปรตีนได้โดยไม่จำกัดปริมาณ
ทานให้พอดี พออิ่ม ไม่อด ไม่งดโปรตีน

วิธีลดค่า BUN

1. เลือกทานโปรตีนคุณภาพดี

– การทานโปรตีนคุณภาพดี
จะช่วยทำให้ไตทำงานหนักน้อยลง
ส่งผลช่วยทำให้ค่าไตดีขึ้น

2.คุมปริมาณการทานโปรตีน
ตามน้ำหนักตัวที่เหมาะสมของตัวเอง

ผู้ป่วยโรคไตที่ค่าไต GFR
น้อยกว่า 45% ควรคำนวณหา
ปริมาณการทานโปรตีนที่เหมาะสม


การคำนวณหาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
เพศชาย ส่วนสูง – 100 = น้ำหนักตัวที่เหมาะสม
เพศหญิง ส่วนสูง -105 = น้ำหนักตัวที่เหมาะสม

** ผู้ป่วยโรคไตทุกคน
ไม่ควร งดโปรตีนเลย
เพราะการที่ร่างกายไม่ได้รับโปรตีน
จะทำให้ร่างกายเกิดการสลายกล้ามเนื้อ
เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน
ทำให้ค่า Cr. เพิ่มขึ้น
ส่งผลต่อค่าการทำงานของไต eGFR ลดลง

ควรทานโปรตีนนปริมาณที่เหมาะสม ตามระยะของไต เพื่อสุขภาพไตที่ดี

=============

เราเชื่อว่าสุขภาพที่ดี
เริ่มต้นจากตัวคุณก่อน”

สั่งซื้อ | ปรึกษา จากผู้เชี่ยวชาญ :
ติดต่อ คุณอ้อม สารินี

Line : @aomsarinee

กดเพิ่มเพื่อน เพื่อปรึกษาฟรีได้อัตโนมัติ
ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ 👇🏽👇🏽
https://lin.ee/UTSMS5K

Open