โปรตีนรั่วในปัสสาวะ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม คุณอ้อม สารินี August 20, 2024 “โปรตีนรั่วในปัสสาวะหรือที่เรียกว่า“เนฟโฟรติก”สัญญาณเตือน โรคไตอักเสบ อาการ ที่บ่งบอกว่า…มีความเสี่ยงเกิด“โปรตีนรั่วในปัสสาวะ” ปัสสาวะเป็นฟอง ลักษณะฟองละเอียดคล้ายกับฟองเบียร์ จะพบว่ามีปัสสาวะลักษณะนี้ 2 ครั้งขึ้นไปปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนมีอาการบวมตามตัว หน้า ขา และเท้าอาจมีปัสสาวะแสบขัดน้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยไม่ทราบสาเหต สาเหตุของ “ปัสสาวะเป็นฟอง”1.โรคประจำตัว เบาหวาน ความดัน2.ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ3.ไตอักเสบ4.โรคภูมิแพ้ตัวเอง (SLE) การตรวจวินิจฉัย– นำปัสสาวะไปตรวจเพื่อเช็คว่า มีปริมาณโปรตีนรั่วมากเท่าไหร่– ระดับโปรตีนรั่ว คือ 1+ ถึง 5+,Nagative = ไม่พบ ,trace = มีน้อยมาก– ถ้าตรวจแล้ว ผลตรวจอยู่ในระดับ 1+ ถึง 3+คืออยู่ในระยะที่ปกติ– หากอยู่ในระยะ 3+และมีอาการบวม ฉี่เป็นฟอง ฉี่ปนเลือด แพทย์จะเริ่มให้ยาทาน เพื่อรักษา วิธีการรักษา– ให้ทานยาเพนนิสโซโลน หรือ ยากดภูมิ ยาชนิดนี้มีผลข้างเคียง– การทานยาจะไม่เห็นผลที่ดีขึ้นในทันที อาจจะต้องใช้เวลา 1-2 สัปดาห์– แพทย์จะเริ่มให้ยาที่โดสสูง ในปริมาณที่เยอะ เพื่อหยุดการอักเสบของไต– หากผู้ป่วยมีอาการบวมอยู่และทานยาตัวนี้เข้าไป จะส่งผลทำให้บวมขึ้นอีก หรือที่เรียกอาการนี้ว่า “Moon Face”แต่จะไม่อันตราย ผู้ป่วยจะต้องทานยาต่อเนื่องรักษาตามอาการ ตามแพทย์สั่ง ไม่ควรหยุดทานยาเอง การดูแล1.คุมความเค็ม ลดเค็ม ลดโรค– การลดทานเค็มลง จะช่วยดูแลไตได้มากขึ้น ฝึกทานรสชาติที่พอดี เพื่อดูแลไต– ชิมก่อนปรุงเพิ่ม– เลือกใช้เครื่องปรุงที่ลดโซเดียม 2.ไม่ควรทานโปรตีนเสริมอื่นๆ– โปรตีนเสริม ยิ่งกินยิ่งทำร้ายไตทำให้ไตแย่ลง– ควรทานโปรตีนจากธรรมชาติทานในปริมาณที่พอดี ตามระยะไต– กรณี ที่เป็น โรคไต ร่วมด้วย ควรคำนวณหาปริมาณโปรตีนที่ทานได้ ในแต่ละวันด้วยเพื่อจะได้คุมโปรตีนให้เหมาะสมตามระยะของไต ไม่ทำให้มีของเสียเกิน วิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคโปรตีนในปัสสาวะรั่วดูแลสุขภาพ ควบคุมน้ำหนัก ระดับน้ำตาล และ ระดับความดันโลหิตให้ดี– หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่แพทย์ไม่ได้สั่ง– หมั่นตรวจสุขภาพ และตรวจปัสสาวะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โปรตีนรั่วในปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นฟอง สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าไม่รักษา อาจเป็น ไตวาย ไตเสื่อม ได้ =============เราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากตัวคุณก่อน”สั่งซื้อ | ปรึกษา จากผู้เชี่ยวชาญ : ติดต่อ คุณอ้อม สารินีLine : @aomsarineeกดเพิ่มเพื่อน เพื่อปรึกษาฟรีได้อัตโนมัติ ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ 👇🏽👇🏽https://lin.ee/UTSMS5K 📍 พิกัด เครื่องปรุงโซเดียมต่ำ Low sodium 📍 ซอสหอยนางรมลดโซเดี่ยม ซีอิ้วขาวลดโซเดี่ยม 101 plus ซอสปรุงรส ขนาด 250mlhttps://s.shopee.co.th/1fz1EPM6q3 ซอสหอยนางรมลดโซเดี่ยม 101 plus ไม่เติมโพแทสเซียม [ขวดใหญ่ 500 ml] https://s.shopee.co.th/1fz1EX1HJW 101 Plus ซีอิ้วขาว ลดโซเดี่ยม 60% ไม่เติมเกลือโพแทสเซียม [500 ml ขวดใหญ่] https://s.shopee.co.th/2LEi1oobGY Related posts:ไตเสื่อม กับค่า Creatinine และ GFR9 อาการหลังฟอกไต ที่ควรรู้10 วิธีบำรุงไตให้แข็งแรง และป้องกันให้ห่างไกลจากภาวะไตเสื่อม