Friday, 18 Apr 2025

3 ค่าไต สำคัญ ผู้ป่วย โรคไต เรื้อรัง ควรทราบ

“ไตวายเรื้อรัง”
การทำงานของไตเสื่อมลงอย่างช้า ๆ
ทำลายเนื้อไตแบบค่อยเป็นค่อยไปนานเกินกว่า 3 เดือน
โดยแบ่ง ระยะ และ ระดับความรุนแรง
ของ โรคไต เรื้อรัง ออกเป็น 5 ระยะ

3 ค่าสำคัญ ที่ผู้ป่วย โรคไตเรื้อรัง ควรทราบ

eGFR หรือ GFR
(Estimated Glomerular Filtration Rate)
อัตราการกรองผ่านไต


ค่าอีจีเอฟอาร์
คือ ปริมาณของเลือด
ไหลผ่านตัวกรองของไตใน 1 นาที
บอกการทำงานของไต ได้ดีที่สุด

eGFR คำนวณจากค่า ครีเอตินีน (Cr)
โดยเอาไปคำนวณร่วมกับ
อายุ เพศ เผ่าพันธุ์ ของแต่ละคน
ทำให้ทราบว่า โรคไต เรื้อรัง
ของท่านอยู่ในระดับใด

eGFR ยิ่งมาก ยิ่งดี

Cr.
(Creatinine)
ครีเอตินีน หรือ ครีตินิน

เป็นการวัดค่าการทำงานของไต
เกิดจากของเสียที่ผลิตจาก
การใช้กล้ามเนื้อในชีวิตประจำวัน
ซึ่งของเสียดังกล่าวจะถูกขับออกทางไตเท่านั้น

ถ้าไตทำงานผิดปกติ
การจำกัดสาร Creatinine จึงลดลง
ทำให้ปริมาณ Creatinine สะสมในเลือดสูง

. ค่าปกติ ของผู้ชาย
: 0.6 – 1.2 mg/dl


ค่าปกติ ของผู้หญิง
: 0.5 – 1.2 mg/dl

Creatinine ยิ่งน้อย ยิ่งดี

BUN
(Blood Urea Nitrogen)
ค่าบียูเอ็น

คือ สภาวะการทำงานของไต อย่างหยาบ
และการกรองของกรวยไต
ทั้งการทำหน้าที่ของตับ

BUN ค่าปกติ
= 10-20 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

BUN ต่ำกว่า 10 อาจส่งผลอะไรบ้าง
–  อาจจะบริโภคอาหารประเภทโปรตีนน้อยเกินไป 
– อาจกำลังอยู่ในภาวะทุพโภชนาการ
หรือกำลังขาดแคลนอาหาร
– กลไกการดูดซึมอาหารอาจเกิดความบกพร่อง
– ตับ อาจกำลังมีเหตุร้ายแรงเรื้อรัง
หรือกำลังมีโรคสำคัญ
– อาจมีปริมาณน้ำในร่างกายน้อยเกินไป 
(Overhydrated)
– อาจเกิดจากยารักษาโรคบางชนิดในประเภทยาปฏิชีวนะ
เช่น ยาคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol)
ยาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin)

BUN สูงเกิน 20 อาจส่งผลอะไรบ้าง

**ค่า BUN สูงกว่าปกติอาจบ่งบอกได้ว่า
การทำงานของไตอาจผิดปกติ
โดยอาจเกี่ยวข้องกับ
ภาวะ ไตเสื่อม เฉียบพลัน
หรือ ไตเสื่อมเรื้อรังที่เกิดจาก
การถูกทำลายด้วย
โรคเบาหวาน หรือ ความดันโลหิตสูง ผิดปกติ
จึงทำให้ขับ Urea Nitrogen ทิ้งออก
ทางปัสสาวะไม่ได้ หรือไม่หมด
จนมีผลต่อเนื่องทำให้คั่งค้างอยู่ในเลือด
ค่า BUN จึงมีมีระดับสูงขึ้น 
โดยค่า BUN ที่สูงขึ้น อย่างผิดปกตินี้ 

อาจแสดงผลได้ว่า…

– ทานอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไป
หรือการขาดน้ำ ดื่มน้ำน้อยกว่าปกติ
– การออกกำลังกายอย่างหักโหมมากจนเกินไป
– ตับอ่อน อาจหลั่งเอนไซม์ย่อยอาหารบกพร่อง 
ทำให้เหลือของเสีย
รวมทั้ง Urea Nitrogen มากกว่าปกติ
– ท่อปัสสาวะอาจมีการอุดตัน หรือถูกปิดกั้น
จนไหลไม่สะดวกซึ่งอาจเกิดจากนิ่วในไต
หรืออาจมีเนื้องอกมาขัดขวาง
ทางเดินปัสสาวะ 
– เกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน 
หรือภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
– เกิดจากภาวะช็อคจากความดันโลหิตต่ำ 
จนเลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ
– ในช่องทางเดินอาหารอาจมีการตกเลือดโดยไม่รู้ตัว
ร่างกายอาจมีแผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกขนาดใหญ่
-เกิดจากการทานยาบางชนิด เช่น 
อัลโลพูรินอล (Allopurinol)
ยากลุ่มอมิโนไกลโคไซน์(Aminoglycoside)
แอมโฟเทอริซินบี(Amphotericin B)
แอสไพริน (Aspirin)
ที่ทานมากเกินขนาด

 

ฉนั้นอย่าลืมขอผลตรวจ ค่าไต
กลับมาด้วยทุกครั้ง เพื่อที่จะได้ดูแล
ได้อย่างเหมาะสมกับค่าไต
หากได้มาแล้ว ดูแล้วไม่เข้าใจตรงไหน
สามารถถ่ายรูปผลตรวจ แล้วส่งมา
ตามข้อมูลติดต่อด้านล่าง เดี๋ยวอ้อมช่วยดูให้ได้ค่ะ

=============

เราเชื่อว่าสุขภาพที่ดี
เริ่มต้นจากตัวคุณก่อน”

สั่งซื้อ | ปรึกษา จากผู้เชี่ยวชาญ :
ติดต่อ คุณอ้อม สารินี

Line : @aomsarinee

กดเพิ่มเพื่อน เพื่อปรึกษาฟรีได้อัตโนมัติ
ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ 👇🏽👇🏽
https://lin.ee/UTSMS5K

Open