Saturday, 4 Jan 2025

5 ผลเลือดที่ผู้ป่วย โรคไต ควรรู้!!

“ผลเลือด” เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ
ที่ผู้ป่วยโรคไต ทุกคนรู้จัก 

แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะยัง
ไม่สามารถอ่านค่าเลือดของตัวเองได้

การอ่านผลเลือดของตัวเอง
จะช่วยให้ผู้ป่วย สามารถที่จะปรับดูแลตัวเองได้
ให้เหมาะสมกับระยะไตของตัวเอง

บทความนี้ อ้อมได้สรุปเนื้อหาสั้นๆ เกี่ยวกับ

“5 ผลเลือดสำคัญ ที่ผู้ป่วย โรคไต ควรรู้”

  1. BUN (Blood Urea Nitrogen)
    หรือ ค่าของเสียสะสม
  • ผู้ป่วย โรคไต จะมีค่า BUN สูงกว่าคนปกติ
    เพราะไตเสื่อมเลย กรองของเสียออกไม่หมด
    ซึ่งโดยเกณฑ์ปกติในผู้ใหญ่จะอยู่ที่ 10-20 mg/dL
  • BUN สูงเกิดจากการที่
    ร่างกายมีของเสียในเลือดมากเกินไป
  • การทานโปรตีนทุกชนิด มีผลต่อค่า BUN
    เพราะฉะนั้นควรเลือกทานโปรตีนคุณภาพดี
    เช่น ไข่ขาว เนื้อปลา
    เนื้อไก่ไม่ติดมัน เนื้อหมูไม่ติดมัน
    ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้
    ในปริมาณที่เหมาะสมกับระยะไต
  • เมื่อค่าไตน้อยกว่า 45%
    หากผู้ป่วยทานโปรตีนมากเกินไป 
    ไต ทำงานได้น้อยลง
    การขับของเสียได้น้อยลง
    ส่งผลให้ค่า BUN สูงขึ้น

วิธีลดค่า BUN

1. เลือกทานโปรตีนคุณภาพดี
– การทานโปรตีนคุณภาพดี
เพื่อลดภาระการทำงานหนักของ ไต  
ส่งผลให้ค่า ไต ดีขึ้น

2. คุมปริมาณการทานโปรตีน
ตามน้ำหนักตัวที่เหมาะสมของตัวเอง

ผู้ป่วย โรคไต ที่ค่าไตน้อยกว่า 45%
ควรคำนวณปริมาณการทานโปรตีนที่เหมาะส

– การคำนวณหาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
เพศชาย ส่วนสูง – 100 = น้ำหนักตัวที่เหมาะสม
เพศหญิง ส่วนสูง -105 = น้ำหนักตัวที่เหมาะสม

** ผู้ป่วย โรคไต ทุกคน  
ไม่ควรไม่ทานโปรตีนเลย

เพราะการที่ร่างกาย ไม่ได้รับโปรตีน
จะทำให้ร่างกาย เกิดการสลายกล้ามเนื้อ
เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน
มีผลทำให้ค่า Cr. เพิ่มขึ้น
ส่งผลต่อค่าการทำงานของไต
eGFR ลดลง

2) Cr. (Creatinine)

  • ค่า Cr. เป็นผลเลือดที่สามารถ
    นำมาคำนวณหาค่าการทำงานของไต (eGFR) ได้
  • ค่าปกติ 0.6-1.2
    (ค่า Cr.จะเพิ่มขึ้นเมื่อไตเข้าสู่ระยะ 2)

สาเหตุที่ทำให้ค่า Cr. เพิ่มขึ้น

1. เกิดจากการทานโปรตีนน้อยเกินไป
ส่งผลให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะขาดโปรตีน
เมื่อร่างกายขาดโปรตีน ทำให้มีการสลายกล้ามเนื้อ
ส่งผลให้ค่า Cr. เพิ่มขึ้น ค่า eGFR ลดลง

2. การออกกำลังกายที่หนักเกินไป
– การออกกำลังหนัก
คือ การที่ออกกำลังนาน 3-4 ชั่วโมงต่อวัน
การวิ่งมากกว่า 10 กิโลเมตร
การออกกำลังกายที่หนักมากขึ้น
ทำให้มีการสลายกล้ามเนื้อเกิดขึ้น

– ผู้ป่วย โรคไต ระยะ 3b-5
หรือมีค่าการทำงานของไต น้อยกว่า 45%
ไม่ควรออกกำลังกาย ที่หนักจนเกินไป

วิธีลดค่า Cr.

1. ทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม
ตามระยะไต ของตนเอง
ไม่ควรทานตามผู้ป่วย โรคไต ท่านอื่นๆ

2. ออกกำลังกายให้เหมาะสม
เน้นการออกกำลังกาย
เบาๆไม่หนักจนเกินไป
เช่น เดิน ว่ายน้ำ แกว่งแขน
วันละไม่เกิน 30 นาที
สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

3. เลือกทานโปรตีนคุณภาพดี
เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ขาว
หรือเนื้อหมูไม่ติดมัน

3 ) ค่าไขมัน

  • ค่าไขมัน มี 4 ตัว
    คือ คอลเลสเตอรอล,
    ไตรกลีเซอไรด์, HDL, LDL
  • ค่า ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL
    ไม่ควรปล่อยให้สูงเกินกว่าปกติ
    เพราะจะทำให้เส้นเลือดอุดตัน
  • การลดค่าไตรกลีเซอไรด์
    ช่วยทำให้ค่าไตเพิ่มขึ้นได้
  • ค่าไตรกลีเซอไรด์ เกณฑ์ปกติ
    ในผู้ชาย จะอยู่ที่ 40-160 mg/dL ,
    ในผู้หญิง จะอยู่ที่ 35-135 mg/dL
     คนที่เป็น โรคไต ค่านี้ จะสูงกว่าเกณฑ์ปกติ
  • ค่าไตรกลีเซอไรด์ สูง
    เกิดจากการทานขนมถุงเยอะ
    หรือ การทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวบ่อยๆ

**การตรวจวัดค่าไตกลีเซอไรด์ที่แม่นยำ
จำเป็นต้องงดอาหารอย่างน้อย 12-14 ชั่วโมงด้วยนะคะ**

วิธีลดค่าไตรกลีเซอไรด์

1. ลดกินเนื้อสัตว์ ที่ย่อยยาก
2. ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม
3. อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ
4. เน้นกินโปรตีนคุณภาพดีและย่อยง่าย
เช่น ไข่ขาว ปลาเนื้อขาว

4) ค่าความเข้มข้นของเลือด (Hematocit , Hct. )

  • Hct เป็นตัวย่อของ Hematocrit 
    เป็นค่าที่บ่งบอกว่าตอนนี้
    เรามีภาวะซีดอยู่หรือเปล่า
    หรือเรียกอีกอย่างว่า
    เป็นค่าความหนาแน่นของเม็ดเลือดแดง 
  • ค่าที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ผู้ชาย : 42-52%
ผู้หญิง : 37-47%

ถ้าต่ำกว่าเกณฑ์ ก็แปลว่า ซีด

แล้วทำไม เป็น โรคไต ถึงซีด? 

  • ไตของเรา ทำหน้าที่สร้าง
    ฮอร์โมน erythropoietin  หรือ EPO 
    ให้ไปกระตุ้นไขกระดูก
    เพื่อสร้างเม็ดเลือดแดงออกมา
    เมื่อไตเสื่อม ฮอร์โมนนี้จึงมีน้อยลง
    ไขกระดูกก็เลย
    สร้างเม็ดเลือดแดงน้อยตาม
    ทำให้ Hct ต่ำลง

เมื่อมีอาการซีด วิธีแก้คือ
1. ผู้ป่วย โรคไต ระยะต้น 1-3a
ค่าไตน้อยกว่า 45%

– ทานผักใบเชียว
เช่น บล็อคโคลี่ต้ม, คะน้าต้ม
จะช่วยเพิ่มค่าเลือด
เนื่องจากผักใบเขียวมีสังกะสี
และคลอโรฟีล ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่ม
ค่าความเข้มข้นของเลือดได้

2. ผู้ป่วย โรคไต ระยะท้าย 3b-5
ค่าไตน้อยกว่า 45%

– ทานยาเพิ่มธาตุเหล็ก

5)พาราไทรอยด์(PTH)

  • พาราไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่ควบคุม
    และดูแล กระดูกในร่างกาย
    โดยต่อมที่ปล่อยฮอร์โมนนี้ออกมา
    มีชื่อว่า ต่อมพาราไทรอยด์
  • เมื่อเข้าสู่ โรคไต ระยะ 5
    จะเริ่ม มีการเจาะดู
    ค่าพาราไทรอยด์
  • ค่าปกติ 60-600
    ไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป

ค่านี้มักจะสูง ในผู้ป่วยฟอกไต
ที่มีฟอสฟอรัสในเลือดสูงนาน ๆ

วิธีลดค่าพาราไทรอยด์

  • ควบคุมระดับฟอสฟอรัสในเลือด
    เพราะถ้าฟอสฟอรัสสูง
    ค่า PTH ก็จะสูงตาม
    หากค่า PTH ขึ้นถึงหลักพัน
    อาจจะต้องผ่าตัดเอาต่อมนี้ออก

    เพื่อลด PTH ให้ต่ำลง
    ลดการสลายกระดูกออกมาใช้งานมากเกินไป
    **สังเกตได้จากผิวที่คล้ำลงและมีอาการคัน

=============

เราเชื่อว่าสุขภาพที่ดี
เริ่มต้นจากตัวคุณก่อน”

สั่งซื้อ | ปรึกษา จากผู้เชี่ยวชาญ :
ติดต่อ คุณอ้อม สารินี

Line : @aomsarinee

กดเพิ่มเพื่อน เพื่อปรึกษาฟรีได้อัตโนมัติ
ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ 👇🏽👇🏽
https://lin.ee/UTSMS5K

Open