เบาหวาน อันตรายสำหรับ ผู้ป่วยไตเสื่อม
เบาหวาน
ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือด ซึ่งได้จากสารอาหารไปใช้ได้ตามปกติ FSB สูงกว่า 115 mg/dl ภาวะนี้จะทำให้เกิด น้ำตาลในเลือดสูง อินซูลินในเลือดสูงด้วย ทำให้เกิดอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น, การทำงานของผนังเซลล์เสียไป
น้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้อวัยวะทั่วไปเสื่อมเร็วกว่าปกติ ทำให้แก่เร็ว, มีความดันโลหิตสูง, ไขมันต่างๆ ผิดปกติ, อ้วน, กลูโคสต่างๆ ผิดปกติ, กระดูกพรุน, เนื้องอก, มะเร็งเติบโตได้ดี และมีภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวาน
ซึ่ง ไตวายเรื้อรัง ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนต้องเจอ เฉลี่ยประมาณร้อยละ 30 – 40 ของผู้ป่วยไตวายทั้งหมด จะมีสาเหตุมาจาก เบาหวาน โดยสาเหตุของไตวายเฉียบพลันที่สำคัญ คือ การที่มีภาวะเลือดหรือสารอาหาร นำไปเลี้ยงไตได้น้อยลง การได้รับยาหรือสารพิษต่างๆที่ไปส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต
“สถานการณ์ ผู้ป่วย เบาหวานในปี 2557 มีผู้เป็นเบาหวานทั่วโลก 350 ล้านคน ซึ่งสาเหตุสำคัญคือการไม่ได้รับการตรวจว่าเป็นเบาหวานตั้งแต่เบี้องต้น ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40 และการที่เป็น เบาหวาน แล้วไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ซึ่งนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน และความสูญเสียที่สำคัญคือตาบอด การถูกตัดขา ไตวาย และ หัวใจ
ประเทศไทย พบว่าคนไทยที่อายุมากกว่า 15 ปี เป็นเบาหวานร้อยละ 6.2 โดยในวัยทำงานอายุระหว่าง 40-59 ปี เป็นเบาหวานถึงร้อยละ 12 และผู้ที่อายุ 30-39 ปี เป็นเบาหวานร้อยละ 2.8 และผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติมีความเสี่ยงที่จะเกิด ผู้ป่วยเบาหวานในอนาคตอีกกว่าร้อยละ 12″
6 สาเหตุทำให้เป็นเบาหวาน
1. สารเคมี – ตัวขัดขาวในแป้ง (Alloxan) เช่น ข้าวขัดขาว, ก๋วยเตี๋ยว, ขนมจีน ฯลฯ ซึ่งจะเป็นตัวทำลายตับอ่อนโดยตรง – มีอยู่ในแป้งข้าวสาลี
2. Steroid มีผลในการทำลายกระดูก ทำลายไต และทำให้เป็น เบาหวาน
3. น้ำมันทั้งหลาย
4. เครียด ธัยรอยด์ต่ำ
5. กินอาหารขยะ ขาดสารอาหารในการซ่อมแซมร่างกาย (อาหารขยะ – อาหารที่ได้รับการแปรสภาพจนไม่เหลือสภาพเดิม, ทำในปริมาณมาก และ สารอาหารที่เหลืออยู่น้อย)
6. Artificial Sweetener สารให้ความหวาน น้ำตาลเทียม จะเป็นการหลอกตับอ่อนให้สร้างอินซูลิน
การเปลี่ยนแปลงของ เบาหวาน
1. การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่หลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น ภาวะไตวาย ภาวะจอรับภาพเปลี่ยนแปลง ภาวะเส้นประสาทอักเสบชนิดที่เกิดขึ้นที่เส้นประสาทเดี่ยว
2. การเปลี่ยนแปลงเกิดที่หลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น หลอดเลือดใหญ่แข็งตัว และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
3. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การเกิดต้อกระจก การเกิดเส้นประสาทเสื่อมชนิดที่เกิดในเส้นประสาทหลายเส้น
การดูแล ไตเสื่อม ใน ผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สำคัญต่อการดูแล ไตเสื่อม เกือบทุกระยะ โดยผู้ป่วยเบาหวานอาจใช้วิธีทานยาคุมระดับน้ำตาลหรือใช้การฉีดอินซูลิน เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าปกติมากที่สุด เนื่องจากในภาวะไตวาย ไตจะขจัดอินซูลินได้น้อยลง จึงมีระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น ทำให้น้ำตาลในเลือดผู้ป่วยลดต่ำลง และต้องคุมความดันโลหิตให้ปกติ
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แบ่งเป็น 3 ประเภท
1. ประเภทที่ห้ามรับประทาน : อาหารน้ำตาล, ขนมหวาน, น้ำหวาน, ผลไม้หวาน, น้ำผลไม้ (ยกเว้นน้ำมะเขือเทศ มีน้ำตาล 1%)
น้ำตาลเทียม 4 ชนิด
1.1 แอสปาเทม – เป็นโปรตีน
1.2 เอสซัลเฟมเค
1.3 แซคคารีน (ขรรณทศกรณ์) มีความหวาน 300-400 เท่าของน้ำตาลทราย สามารถทำให้เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
1.4 ฟรุคโตส, ซอร์บิทอล, แมนนิทอล, ไซลิทอล เป็นน้ำตาลจากผลไม้ อันตรายเท่า น้ำตาลทราย
2. ประเภทที่รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน
ผักทุกชนิด (ประมาณ 3-4 จานรองถ้วยกาแฟ/วัน)
3. ประเภทที่รับประทานได้แต่ต้องเลือกชนิด
พวกคาร์โบไฮเดรต โดยคำนึงถึงปัจจัย 2 อย่าง คือ
3.1 ไฟเบอร์
3.2 ไกลซีมิคอินเด็กซ์ – ข้าวเจ้า, น้ำตาลกลูโคส อาหารที่มีปริมาณไฟเบอร์ในอาหารสูง (มากกว่า 3 กรัม/อาหาร 100 กรัม) แอปเปิ้ลเขียว, ฝรั่ง, ข้าวโพดอ่อน, ถั่วเขียว, แครอท, ถั่วแระ, อาหารซีรีล ชนิดแบรน, ถั่วฝักยาว , เม็ดแมงลัก ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ของผลไม้ไทย (ใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นอาหารมาตรฐาน) ทุเรียน 62.4 องุ่น 53.1 สัปปะรด 62.4 มะม่วง 47.5 ลำไย 57.2 มะละกอ 40.6 ส้ม 55.6 กล้วย 38.6
ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ คือ การเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซึมของ ทุเรียน, สัปปะรด ฯลฯ เมื่อเทียบกับน้ำตาลกลูโคส แสดงให้เห็นคร่าวๆ ว่า ทุเรียนมีน้ำตาล 62.4% สัปปะรดมีน้ำตาล 62.4% โดยประมาณ เพราะฉะนั้นใครกินผลไม้เยอะก็เหมือนกินน้ำตาลทรายแหละครับ
“นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุม กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์เบาหวานในปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากสมาพันธ์เบาหวานโลกคาดการณ์ว่าในปี 2583 จะมีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 642 ล้านรายทั่วโลก และในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 5.5 ล้านราย โดยในแต่ละวันจะมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากเบาหวาน 200 คน หรือ 8 รายต่อชั่วโมง และมีเพียง 10% ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีชีวิตอยู่โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน“
การป้องกันเบาหวาน 4 ประการ
1. ให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์อย่างเพียงพอ เนื่องจากไฟเบอร์บางชนิดช่วยทำให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง หรือ ช่วยทำให้ “glycemic effect” หรือผลที่เกิดจากน้ำตาลในอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้ช้าลง
2. รับประทานไขมันชนิดที่ถูกต้อง ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโมโนอันแซ็ทรูเรเต็ด เช่น น้ำมันมะกอก ช่วยทำให้ผลของอินซูลินในร่างกายดีขึ้น
3. ควบคุมน้ำหนักตัว ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่แข็งแรง อาหารที่มีสัดส่วนของโปรตีนเมื่อเทียบกับคาร์โบไฮเดรตสูงขึ้น จะช่วยลดไขมันในร่างกายได้ดีกว่า และคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานควรเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ทั้งผักและธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีมากกว่าที่จะเป็นคาร์โบไฮเดรตในรูปง่าย (ขนมปัง, ของหวาน เป็นต้น) และการรับประทานผลไม้และน้ำผลไม้มากๆ ก็มีผลทางด้านลบต่ออัตราส่วนของคาร์โบไฮเดรตในร่างกายผู้ป่วยเช่นกัน
4. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดินเร็วๆ สัปดาห์ละ 4 ครั้ง จะช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น การออกกำลังกายประเภทยกน้ำหนักจะช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นผลดีเช่นกัน เพราะกล้ามเนื้อจะสามารถนำกลูโคสไปใช้ได้โดยไม่ต้องใช้อินซูลิน ดังนั้น ยิ่งมีกล้ามเนื้อมากก็จะยิ่งนำน้ำตาลออกไปจากกระแสเลือดได้โดยไม่ต้องพึ่งการทำงานของตับอ่อนมากขึ้นเท่านั้น
5. เลือกทาน สารอาหารที่ดี ที่สามารถช่วยฟื้นฟูตับอ่อน และ ดูแลควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ ด้วยสารอาหารในรูปแบบเจล ที่ชื่อว่า “Agel UMI” สกัดมาจากสาหร่ายฟูคอยแดน (Fucoidan) ซึ่งจัดว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง “ฟูคอยแดน” ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักค้นคว้าทั้งหลายหันมาให้ความสำคัญและสนใจ เนื่องจากฟูคอยแดนเป็นหนึ่งในสมบัติอันล้ำค่าจากท้องทะเลลึก ที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์มากที่สุด
Click ที่รูปเลยค่ะ เพื่อดูรายละเอียดของ UMI เพิ่มเติมค่ะ
“If we’re not willing to settle for junk living,
we certainly shouldn’t settle for junk food.” Sally Edwards
ถ้าไม่อยากเสียเงินเพื่อชีวิตที่ไม่มีคุณค่า
เราไม่ควรเสียเงินไปกับอาหารขยะที่ไม่มีคุณค่าเหมือนกัน