10 การปฏิบัติเมื่อฟอกไต ด้วยเครื่องไตเทียม
การปฏิบัติตัวระหว่างการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม
1. ผู้ป่วยที่ใช้เส้นฟอกเลือดที่แขนไม่ควรขยับแขนรุนแรงขณะฟอกเลือดเพราะจะให้เข็มเลื่อนหลุดทำให้เส้นเลือดแตกได้
2. ผู้ป่วยควรแจ้งพยาบาลทันทีหากมีอาการผิดปกติเมื่อมีอาการดังนี้
>เจ็บบริเวณที่แทงเข็ม
>หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
>คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
>ปวดศีรษะ
>ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ
>แน่นหน้าอก
>หนาวหรือร้อนเกินไป
>เป็นตะคริว
การปฏิบัติตัวหลังการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม
1. ชั่งน้ำหนักหลังการฟอกเลือดทุกครั้ง
2. หลังจากฟอกเลือดเสร็จพยาบาลจะใช้ม้วนผ้ากอซเป็นก้อนกดบริเวณที่แทงเข็มและใช้ปิดปลาสเตอร์ไว้ผู้ป่วยควรช่วยกดเส้นเลือดด้วยตัวเอง 15-30 นาที
∗∗∗มีเทคนิคคือกดแรงพอที่เลือดจะหยุดแต่เสียงฟู่ที่เส้นเลือดจะต้องไมหายไป
∗∗∗ถ้ามีเลือดซึมออกจากแผลขณะอยู่ที่บ้านให้ใช้กอซหรือผ้าสะอาดกดบริเวณที่แทงเข็มประมาณ 15-30 นาทีถ้าเลือดไม่หยุดให้รีบกลับมาโรงพยาบาลโดยเร็ว
∗∗∗ผู้ป่วยสามารถถอดม้วนผ้ากอซที่ กดบริเวณที่แทงเข็มออกได้หลังจากฟอกเลือดแล้ว 2-4 ชั่วโมง
3. หลังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม อาจยังมีผลตกค้าง ของยาที่ใช้ในการป้องกันการแข็งตัวของเลือด (heparin) ควรระวัง ดังนี้
3.1 ระวังการกระทบ กระแทกแรง ๆ เช่น การหกล้ม การกระแทกกับสิ่งของ อาจทำให้ บริเวณที่ถูกกระแทกเขียวช้ำ ให้ ประคบเย็นทันทีและประคบเย็น ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงแรกหลังจาก นั้นประคบด้วยน้ำอุ่น อาจใช้ยาเรพาริลเจล (reparil gel) หรือ ฮีรูดอยด์ (herudoid) ทาร่วมด้วยเพื่อให้อาการเขียวช้ำลดลง
3.2 ถ้ามีแผลของมีคมบาด ใช้ผ้ากอซสะอาดกดจนเลือด หยุด นานประมาน 15-30 นาที ถ้าบาดแผลใหญ่มากหรือเลือด ไหลไม่หยุด ควรรีบมาโรงพยาบาลทันที
4. หลังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ผู้ป่วยบางรายอาจมี อาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อกลับบ้าน หากอาการดังกล่าว ควรแจ้งให้แพทย์และพยาบาลทราบ เพื่อการเปลี่ยนแปลงปรับ น้ำหนักตัวแห้ง (dry weight)
5. วัดความดันโลหิตขณะอยู่ที่บ้านอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งในตอนเช้า หลังตื่นนอน และบันทึกลงในสมุดบันทึกความดันโลหิต
∗∗∗การที่มีความดันตกบ่อยๆจะทำให้เส้นฟอกไตดับได้
∗∗∗ห้ามวัดความ ดันโลหิตข้างที่มีเส้นเลือดที่ใช้ฟอก เลือดทำไตเทียม
6.ใช้มือคลำเส้นฟอกไตทุกเช้า หรือ ฟังเส้นฟอกไตว่ายังมีเสียงฟู่หรือไม่โดยเอาเส้นฟอกไตแนบที่หู
7. ผู้ป่วยต้องบริหารเส้นฟอกเลือดโดยการบีบและคลายมือ เป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยควรบริหารหลังการฟอก เลือด 1 วัน
∗∗∗ไม่ควรบริหารเส้นหรือยกของที่ต้องออกแรงแขนมาก หลังการฟอกเลือดวันแรก เพราะอาจทำให้เลือดออกบริเวณรูเข็มได้
8. ไม่ควรงอแขนข้างที่มีเส้นฟอกเลือดในระยะเวลานาน ทำให้ เลือดไปเลี้ยงเส้นไม่เพียงพอและเสียการทำงานเร็วขึ้น
9. ผู้ป่วยที่ใช้เส้นฟอกเลือดหลังการฟอกเลือด ควรดูแลบริเวณ ที่ปิดปลาสเตอร์ให้แห้งอยู่เสมอ หากเปียกน้ำควรเปลี่ยนทันที
∗∗∗เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่รูเข็ม หากยังมีเลือดซึมที่ผิวหนัง เล็กน้อยให้ใช้ปลาสเตอร์สะอาดแผ่นใหม่ปิดแทน
10. ผู้ป่วยที่ใช้เส้นฟอกเลือดที่คอ ควรดูแลความสะอาดของ ผิวหนังรอบสาย โดยห้ามแผลเปียกน้ำ ระวังการมีเหงื่อออกมาก การอับชื้นของแผล
∗∗∗ในกรณีต้องการสระผมให้สระที่ร้านหรือให้ญาติช่วยสระให้
อาการที่ต้องมาพบแพทย์ด่วน
มีไข้สูง มีปวดบวม แดง ร้อน ที่เส้นฟอกไต
มีแขนหรือหน้าบวมในตอนเช้าหรือตลอดเวลา
มีอาการปวดปลายมือขณะฟอกเลือดหรือปวดตลอดเวลา
ไม่ได้ยินเสียงฟู่ของเส้นฟอกไต