กินผลไม้อย่างไร อาการของผู้ป่วยไตเสื่อม ไม่กำเริบ

เลือกกินผลไม้อย่างไรให้ปลอดภัย แล้วอาการไตจะได้ไม่กำเริบ
โดยปกติแล้วผู้ป่วยใช่ว่าจะสามารถกินผลไม้ ได้หมดทุกชนิดนะคะ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยไตเสื่อม
เพราะผู้ป่วยไตเสื่อมมักจะมีความบกพร่องในการขจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมมากเกินไป โดยส่วนมากแล้ว โพแทสเซียมจะมีมากใน ผลไม้ ค่ะ
เมื่อผู้ป่วยไตเสื่อม ทานผลไม้ มากเกินไป จนร่างกายมีปริมาณโพแทสเซียมสูงเกินไป
จะส่งผลดังนี้
1.จะทำให้มีอาการเหนื่อยหอบ
2.อ่อนเพลีย
3.ใจสั่น
4.คลื่นไส้
5.เป็นตะคริว
6.ชีพจรเต้นช้าลงหรือจนถึงขั้นหัวใจหยุดเต้นได้
7.บวม
และเมื่อใดที่ร่างกายได้รับโพแทสเซียมในระดับที่เหมาะสม ก็จะช่วยลดอาการบวมน้ำในร่างกาย
ของผู้ป่วย และช่วยปรับสมดุลของน้ำในร่างกายให้เป็นปกติ ยังช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ได้อีกด้วยค่ะ
ปัจจุบันนี้อัตราการเสียชีวิต ของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องค่ะ
อัตราการเสียชีวิต ของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว จากโรงพยาบาลราชวิถี
ผู้ป่วยไตเสื่อม ที่แพทย์ระบุว่า เป็น ไตวายเรื้อรัง ควรปฏิบัติ ดังนี้
เนื่องจาก โพแทสเซียมถูกขับออกทางไต เมื่อไตเสื่อมจะทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียม ผู้ป่วยไตวายมักจะมีการคั่งของ โพแทสเซียม ถ้าระดับโพแทสเซียมสูงมากอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
ถ้ามีระดับโปแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 5.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ควรควบคุมปริมาณโปแทสเซียมในอาหาร โดยเลือกรับประทานผลไม้ที่มีโปแตสเซียมต่ำ
ผู้ป่วยไม่ควรงดผลไม้ เพราะเป็นแหล่งของวิตามินและใยอาหาร ซึ่งช่วยป้องกันท้องผูกค่ะ
โดยส่วนมากผู้ป่วยมักจะเผลอบริโภคโซเดียมจากผลไม้เข้าไปโดยที่ไม่รู้ตัว ดังนั้นสำหรับผู้ป่วย
ไตเสื่อม จึงควรระมัดระวังในการรับประทานผลไม้เอาไว้ด้วย ซึ่งผลไม้ที่ผู้ป่วยไตเสื่อม กินได้อย่างปลอดภัย ก็มีดังนี้
กลุ่มผลไม้โพแทสเซียมต่ำ
ผู้ป่วยไตเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมสูง เพราะจะทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมเกิน ไตต้องทำงานหนักในการขับแร่ธาตุ และจะส่งผลต่อร่างกาย อาจมีอาการเหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย ใจสั่น คลื่นไส้ เป็นตะคริว ชีพจรเต้นช้าลง กลุ่ม ผลไม้ที่มีโพแทสดซียมสูง ได้แก่ ทุเรียน กล้วยหอม และส้มสายน้ำผึ้ง ซึ่งมีค่าโพแทสเซียมสูงเมื่อเปรียบเทียบกับส้มชนิดอื่นๆ ในปริมาณที่เท่ากัน
ตารางแสดงปริมาณโพแทสเซียมในผลไม้แต่ละชนิด
จากข้อมูลประชากร พบว่า “โพแทสเซียมในเลือดสูงพบได้ 5% ของประชากรทั่วไป และพบในผู้ป่วยไตเสื่อม สูงขึ้นประมาณ 10% ของประชากรผู้ป่วยไตเสื่อม ภาวะนี้พบได้ในทุกอายุและพบได้ทั้งสองเพศโดยมีแนวโน้มพบในผู้ชายสูงกว่าในผู้หญิง (หาหมอ.com)”
ทำไมต้องคุมอาหาร
ก่อนที่ผู้ป่วยไตเสื่อม จะควบคุมอาหารนั้น ผู้ป่วย จะต้องทราบวัตถุประสงค์ของการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับผู้ป่วยก่อน
1. เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ขาดสารอาหาร
2. หยุดหรือชะลอการกำเนิน ภาวะไตเสื่อม
3. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากความผิดปกติในสมดุลของเกลือแร่ ได้แก่ โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม และ ฟอสฟอรัส รวมทั้งภาวะเลือด
4. ป้องกันการเกิดภาวะบวมน้ำ การที่ผู้ป่วยได้รับทราบวัตถุประสงค์ จะทำให้เข้าใจอย่าง ถูกต้อง
เพราะฉนั้นแล้ว ควรเลือกทาน และทานในปริมาณ ที่พอเหมาะนะคะ เพื่อสุขภาพไต ที่ดี ค่ะ