น้ำ ผู้ป่วยไตเสื่อม ดื่มได้มากแค่ไหน?
ผู้ป่วยไตเสื่อม ทำไมต้องจำกัดน้ำ?
ไตของเราทำหน้าที่หลายอย่าง หนึ่งหน้าที่สำคัญของไต คือการขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายทางปัสสาวะ และเมื่อเกิดไตวาย การทำงานของไตก็จะเสื่อมลง และหน้าที่ของไตก็เสื่อมลง เช่นกัน
และเมื่อการทำงานของไต เสื่อมลง ก็จะทำให้ผู้ป่วยไตเสื่อมบางราย มีปัสสาวะน้อยลง หรือบางรายไม่มีปัสสาวะเลย ก็จะทำให้เกิดปัญหาการคั่งของน้ำ จนเกิด “ภาวะบวมน้ำ”
โดยธรรมชาติของน้ำ ก็จะไหลจากที่สูง ลงสู่ที่ต่ำ ก็จะทำให้อาการบวม นั้นจะแสดงออกชัดเจนที่ หลังเท้า ขา ของผู้ป่วยไตเสื่อม เมื่อเราลองใช้นิ้วกดก็จะเห็นรอยบุ๋มชัดเจนซึ่งคนปกติ ทั่วไป เมื่อกดบริเวณที่บวม รอยนั้นก็จะกลับคืนปกติเลย แต่สำหรับ ผู้ป่วยไตเสื่อม รอยบุ๋มนั้นจะยังคงอยู่ ต้องใช้เวลาสักพัก ถึงจะกลับคืนเหมือนเดิม
และถ้ามีน้ำเกินมากขึ้น ก็จะบวมในอวัยวะส่วนอื่นๆ ตามมา เช่น หน้าบวม ท้องบวม และ ตาบวมใส บวม จนถึงอวัยวะสำคัญคือ ปอด ก็จะเกิดภาวะที่เรียกว่า “น้ำท่วมปอด”
เนื่องจากลักษณะของปอดของคนเรา นั้นเหมือนฟองน้ำ น้ำจะเข้าไปอยู่ในปอด ถุงลมในปอดไม่สามารถ แลกเปลี่ยนแก๊สได้ ออกซิเจนในร่างกายลดลง เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
อาการของภาวะน้ำท่วมปอด
ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อย รู้สึกแน่น ทรมาน นอนราบไม่ได้ ต้องนอนศีรษะสูง หายใจเร็ว หอบ หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบไปโรงพยาบาลทันทีค่ะ
เพราะฉนั้นแล้ว ผู้ป่วยไตเสื่อม ควรจำกัดน้ำ ในแต่ละวันด้วยนะคะ ไม่ใช่เพียงแค่น้ำดื่ม แต่รวมถึง น้ำซุป น้ำดื่ม น้ำแกง ทุกอย่างที่เป็นน้ำ รวมหมดนะคะ
สิ่งสำคัญที่ควรรู้
1.ปริมาณปัสสาวะผู้ป่วยไตเสื่อมต่อวันเท่าไร ถ้าผู้ป่วยยังมีปัสสาวะ ให้ตวง ถ้าผู้ป่วยปัสสาวะใส่ผ้าอ้อม ให้ชั่ง
2.ปริมาณน้ำ 100 ml. = 100 กรัม = 1 ขีด
ปริมาณน้ำ 1000ml. = 1000 กรัม = 1 กิโลกรัม
3. ผู้ป่วยสามารถขับน้ำออกมาทางเหงื่อได้ ประมาณวันละ 500 ml.
4. น้ำ 1 แก้ว = 250 ml.
แล้วผู้ป่วยไตเสื่อมสามารถดื่มน้ำได้เท่าไร?
1. ถ้าผู้ป่วยไตเสื่อม ไม่มีปัสสาวะ ดื่มน้ำได้ 3 แก้วต่อวัน
2. ถ้าผู้ป่วยไตเสื่อม ยังมีปัสสาวะ ดื่มน้ำได้ 3 แก้ว+ปัสสาวะที่ตวงได้
เคล็ดลับ ควบคุมน้ำให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน
1.ชั่งน้ำหนักทุกวัน ที่ชั่งน้ำหนักจำเป็นต้องมีติดบ้านไว้นะคะ สำหรับผู้ป่วยไตเสื่อม น้ำหนักควรขึ้นวันละไม่เกิน 1 กิโลกรัม
2.รับประทานข้าวสวย แทนการรับประทานข้าวต้ม หรือ รับประทานก๋วยเตี๋ยวแห้ง แทนก๋วยเตี๋ยวน้ำ
3.ตวงน้ำดื่ม และ ปัสสาวะทุกวัน
4.ดื่มน้ำเฉพาะหลังรับประทานอาหารและยา
5.หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและเค็ม เพื่อลดอาการกระหายน้ำ
6.เมื่อกระหายน้ำ อมน้ำแข็งแทนการดื่มน้ำ ช่วยลดปริมาณของการดื่มน้ำได้คะ แต่ไม่ใช่อมหลายก้อน อมทั้งวันนะคะ
*เราเชื่อว่าสุขภาพที่ดี เริ่มต้นจากตัวคุณก่อน*
ด้วยรักและห่วงใย
http://www.hrtexo.com
กดเพิ่มเพื่อน เพื่อรับข้อมูลดีๆได้อัตโนมัติ กดลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ
เครดิตภาพ : pixabay
ขอบคุณข้อมูลจาก Nurse Mali