กินเค็มมากไป ไตพังไม่รู้ตัว และ 9 การป้องกัน
การรับประทานเค็มมากไป ไตทำงานหนัก
จากสถิติ พบว่า 17.5% คนไทยเป็น ไตวายระยะสุดท้าย, ตาย 108 คนต่อวัน และ เป็นความดันโลหิตสูง 10 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 1 ใน 6 ของประชากรทั้งประเทศ
คนไทยรับประทานโซเดียมถึง 7,000 มก./วัน
แล้วคุณละ เป็นคนหนึ่ง ที่ชอบ ทานเค็ม ชอบปรุงรส เพิ่มเวลา ทาน ข้าว หรือ ก๋วยเตี๋ยว ไหม??
หรือ ชอบ ทานอาหารแปรรูป ขนมกรุบกรอบ หรือเปล่า???
ถ้าคุณ เป็นหนึ่งในนั้น ก็ ควรเฝ้าระวัง ตัวเองด้วยนะคะ
กระทรวงสาธารณสุขไทย แนะให้ทานเกลือไม่เกิน 2,300 มก. หรือ 1 ช้อนชา/วัน
ถ้าเกิดมี ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง ไม่ควรเกิน 2,000 มก./วันถ้าเป็นความดันโลหิตสูง ไม่ควรเกิน 1,500 มก./วัน
น้ำปลา ผงชูรส ซอสซีอิ้วปรุงรส ขนมถุงไม่เพียงแต่จะอุดมไปด้วยพลังงานและไขมัน ยังแฝงมาด้วยเกลือหรือโซเดี่ยมปริมาณมากมาย จนต้องยกให้เป็นอันตรายที่ซ่อนในความเค็มนั้น ส่งผลต่ออวัยวะอย่าง ไต ของเราอย่างไร
โซเดียมคืออะไร
➤โซเดียมเป็นสารอาหารที่สำคัญในตระกูลเกลือแร่ โซเดียมจะถูกดูดซึมได้ตลอดทางเดินอาหาร น้อยที่สุดที่กระเพาะอาหาร และมากที่สุดที่ลำไส้เล็กส่วนกลาง โซเดียมยังช่วยรักษา ความเป็นกรดและด่างของร่างกาย ช่วยนำซูโครสและกรดอะมิโน ไปเลี้ยงร่างกาย
โซเดียมมีความสัมพันธ์กับไตอย่างไร
➤ไตมีหน้าที่ขจัดของเสีย ยา สารพิษที่ละลายในน้ำออกทางปัสสาวะ
➤ดูดซึมและเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
➤รักษาปริมาณน้ำในร่างกาย ระบายน้ำส่วนที่ร่างกายไม่ต้องการออกจากร่างกาย
➤รักษาปริมาณของโซเดียมในยามที่ร่างกายขาดโซเดียม ระบายโซเดียมที่เกินออกทางปัสสาวะ
ถ้าไตปกติจึงไม่มีอันตรายจากโซเดียมคั่งค้าง
➤ไตมีหน้าที่ขับโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย โซเดียมจะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ บางส่วนจะออกมาทางอุจจาระและเหงื่อ
เมื่อสมรรถภาพของไตเสื่อมลง
➤การคั่งของของเสียจะเกิดขึ้น รวมทั้งไตไม่สามารถขับโซเดียมส่วนเกินออกได้ ทำให้โซเดียมคั่งอยู่ในเลือด ทำให้ผู้ป่วยไตเสื่อม จำเป็นต้องลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือโซเดียมน้อยลง
➤เราได้โซเดียมจากอาหารเกลือแกง น้ำปลา ผงชูรส ซอสซีอิ้วปรุงรส กะปิ อาหารหมักดอง ผัก-ผลไม้ดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม ฯลฯ การรับประทานขนมถุงที่มีเกลือโซเดียมในปริมาณมาก จะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมเพิ่มมากขึ้นจากอาหารปกติ ซึ่งจะทำให้ไตถูกทำลายมากขึ้น
โซเดียม คืออะไร และ สำคัญกับผู้ป่วยไตเสื่อมอย่างไร
=======================================================================================================================
10 อาหารโซเดี่ยมสูง
1. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
เกลือ 3/4 ช้อนชา
ปริมาณโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม
2. ข้าวมันไก่
เกลือ 1/2 ช้อนชา
ปริมาณโซเดียม 1,100 มิลลิกรัม
3. ไก่ป็อป
เกลือ 1/2 ช้อนชา
ปริมาณโซเดียม 1,150 มิลลิกรัม
4. ส้มตำอีสาน
เกลือ 1/2 ช้อนชา
ปริมาณโซเดียม 980 มิลลิกรัม
5. ข้าวหมูกรอบ
เกลือ 1/4 ช้อนชา
ปริมาณโซเดียม 750 มิลลิกรัม
6. ครัวซองต์เนย
เกลือ 1/4 ช้อนชา
ปริมาณโซเดียม 565 มิลลิกรัม
7. น้ำปลา 1 ช้อนชา
เกลือ 1/4 ช้อนชา
ปริมาณโซเดียม 530 มิลลิกรัม
8. ไข่เค็ม 1 ฟอง
เกลือ 1/4 ช้อนชา
ปริมาณโซเดียม 440 มิลลิกรัม
9. ซีอิ้ว 1 ช้อนชา
เกลือ 1/6 ช้อนชา
ปริมาณโซเดียม 460 มิลลิกรัม
10. มันฝรั่งอบกรอบ
เกลือ 1/8 ช้อนชา
ปริมาณโซเดียม 300 มิลลิกรัม
9 การป้องกันไม่ให้บริโภคโซเดี่ยมเยอะเกินไป
1.ทานอาหารปรุงสด ทานผักสด จากธรรมชาติ
2.ทานอาหารที่มีโปแตสเซียม พบมากในผักและผลไม้ เช่น ถั่วแดง กล้วย ส้ม
3.ทานนม โยเกิร์ตไม่มีไขมัน
4.ทานอาหารสดให้บ่อยกว่า อาหารที่ปรุงหลายขั้นตอน เลี่ยงอาหารแปรรูปที่ทำสำเร็จ และ อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อ
5.ชิมอาหารก่อนปรุงรสเพิ่ม ลดการเติมเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว และซอสปรุงรส
6.ปรุงอาหารทานเอง และ ปรุงรสด้วยสมุนไพรและเครื่องเทศ แทน เกลือหรือน้ำปลา
7.เลี่ยงการทานขนม ที่มีการเติมผงฟู เบกกิ้งโซดา
8.ดื่มน้ำเปล่าเป็นประจำ
9.เลือกทาน สารอาหารที่ดี ที่สามารถช่วยฟื้นฟูตับ ไต ด้วยสารอาหารในรูปแบบเจล ที่ชื่อว่า “Agel UMI” สกัดมาจากสาหร่ายฟูคอยแดน (Fucoidan) ซึ่งจัดว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง “ฟูคอยแดน” ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักค้นคว้าทั้งหลายหันมาให้ความสำคัญและสนใจ เนื่องจากฟูคอยแดนเป็นหนึ่งในสมบัติอันล้ำค่าจากท้องทะเลลึกที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์มากที่สุด
Click ที่รูปเลยค่ะ เพื่อดูรายละเอียดของ UMI เพิ่มเติมค่ะ